วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

++งานซ่อม++ รถวิ่งไม่ออก หลังเติมน้ำมันเครื่องเกิน!! Suzuki Step 125




อาการของรถที่พบมี2ปัญหา

❌1.สตาร์ทไม่ติด แบตอ่อน เพราะจอดนานราวๆ1-2เดือน
❌2.หลังสตาร์ทติดแล้ว ทดลองขับดูก็พบว่า ยิ่งเครื่องยนต์อุ่นขึ้นเท่าไหร่ รถก็จะยิ่งเร่งไม่ออกเท่านั้น ขาไปบิดได้60-70 ขากลับวิ่งได้แค่40!!

👎👎เท้าความไปที่ปัญหาที่1 "รถจอดนานสตาร์ทไม่ติด"👎👎

-กดปุ่มสตาร์ท+เปิดโช๊ค สตาร์ทจนแบตหมด รถก็ยังไม่ติด

-ต่อด้วยสตาร์ทเท้า เปิดสวิทช์รถ ขึ้นขาตั้งเรียบร้อยแต่รถก็ยังไม่ติด!! เริ่มได้กลิ่นน้ำมันบูดออกทางท่อไอเสีย (น้ำมันเก่าค้างในถังนานเกิน)

-ขันหัวเทียนออกมาดู ปรากฏว่าหัวเทียนแห้ง ไม่เปียกน้ำมันเบนซิน แต่มีเขม่าสีดำเกาะรอบหัวเทียน

-ใช้กระดาษทรายขัดเขี้ยวหัวเทียน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วประกอบกลับ

-ผลปรากฏว่าสตาร์ทติด การขัดหัวเทียนมีผลดีจริง แต่เดินเบาได้ไม่กี่ครั้งก็ดับ!!

-ตัดสินใจพ่วงแบตกับ aerox155 แล้วก็เปิดโช๊คสตาร์ทอย่างต่อเนื่องทำให้เบาแรงสตาร์ทเท้าลงไปเยอะ ความหวังเริ่มมา😊😊

-สุดท้าย แกะฝาครอบออกมาตั้งเดินเบาใหม่ ถึงได้รู้ว่า รถคันนี้ตั้งเดินเบาสูงเกินไป ทำให้มีอากาศเข้าทางลิ้นเร่งเยอะเกินรถจึงสตาร์ทไม่ติด

-หลังจากสตาร์ทติด ทดลองขับดูใกล้ก่อน พบว่ารอบเดินเบาไม่นิ่ง...สูงบ้างต่ำบ้าง...บางครั้งรอบสูงจนเหมือนคันเร่งค้างทั้งๆที่ตัวตั้งรอบเดินเบาหมุนไปแค่0.5รอบ!!

-ลองเช็ควาล์วอากาศวงจรเดินเบา(ขันจูนอากาศ) พบว่า...เดิมตั้งจูนอากาศไว้ที่2รอบ...ก็เลยขันจูนอากาศใหม่ให้เหลือแค่1.5รอบ

-ผลปรากฏว่า รอบเดินเบานิ่งขึ้น สตาร์ทติดง่ายโดยไม่ต้องเบิ้ลคันเร่ง

✅✅...เสร็จสิ้นการแก้ปัญหาที่1...✅✅




👎👎...ปัญหาที่2 เร่งเครื่องไม่ออกทุกครั้งที่เครื่องยนต์อุ่นขึ้น👎👎

-วิเคราะห์สาเหตุจากอาการรถไม่ปกติจากอาการนี้ได้ประมาณ  สาเหตุ

1.เข็มลูกลอยในคาร์บูเสีย สปริงท้ายเข็มเร่งจม เกิดจากจอดรถนานจนทำให้สปริงในเข็มลูกลอยจมค้าง ระดับน้ำมันในห้องลูกลอยน้อยเกินไป น้ำมันที่ผ่านนมหนูหลักถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ได้น้อย รถจึงไม่มีแรง (คาร์บูแบบสูญญากาศ เหมือนKLX)

2.วาล์วยันตอนเครื่องอุ่นขึ้น ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท สูญเสียกำลังอัด ก็เป็นสาเหตุนึงเหมือนกัน

3.เติมน้ำมันเครื่องเยอะเกินไป ทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดแรงเสียดทานมากกว่าเดิม

✅✅ สรุป สาเหตุที่2-3 เป็นต้นเหตุที่ทำให้รถเร่งไม่ออก✅✅

-ครั้งแรก เราพยายามค่อยๆไล่เช็คระบบ จากต้นทาง ตั้งแต่ไส้กรองอากาศ-น้ำมัน-คาร์บู นมหนูเล็กใหญ่ เข็มเร่ง ลูกยางสูญญากาศลูกลอย เข็มลูกลอย-สังเกตสีหัวเทียน ใช้เวลา6ชั่วโมง โดยเฉพาะคาร์บู...รื้อทีนึงไม่ง่ายเลย มันละเอียดและขั้นตอนเยอะไม่ต่างกับผ่าประกอบเครื่องเลย

...แต่แล้วรถก็ยังสตาร์ทติดง่าย แต่เร่งไม่ออกทุกครั้งที่เครื่องยนต์อุ่นขึ้น

👎👎👎👎**การเติมน้ำมันเครื่องเกิน เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ระยะห่างของวาล์วชิดขึ้น2-3มม.!! เยอะมากกกกก สังเกตได้จากโบล์ทปรับระยะวาล์ว ก่อนตั้งวาล์ว(รูปนึงไอดี รูปนึงไอเสีย)-หลังตั้งวาล์ว(รูปที่ใช้ฟิลเลอร์เกจสอดอยู่)👎👎👎👎
วาล์วไอดียัน ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท สตาร์ทติดยาก
ตั้งระยะห่างไอดี 0.05 มม.
วาล์วไอเสียยัน ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท กำลังอัดรั่วไหล

-ตอนที่ใส่น้ำมันเครื่องเกินแล้วตั้งวาล์วเสร็จปุ๊บ วัดกำลังอัดได้ 180psi

-พอทดลองสตาร์ทรถดูพบว่า เสียงวาล์วดังมาก เหมือนเสียงเหล็กเคาะกัน แก๊กๆๆๆๆๆ

-ตัดสินใจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ถ่ายทิ้ง วัดได้เกือบ2ลิตร!! แล้วก็เติมน้ำมันเครื่องใหม่เข้าไป1ลิตร

-หลังจากนั้นก็เปิดฝาวาล์วออกมาวัดระยะห่างอีกครั้ง ปรากฏว่า ระยะห่างเดิมที่ตั้งไว้ครั้งแรก0.05/0.10มม. มันกลายเป็นห่าง2-3มม. ทั้งๆที่ตั้งมาร์คตำแหน่งเดิมเป๊ะ!! แล้วก็ตั้งระยะห่างวาล์วใหม่อีกครั้งนึง ระยะเดิม ไอดี0.05มม. ไอเสีย0.10มม. (อ้างอิงจากคู่มือซ่อม Suzuki Jelato)



✅✅สรุปว่า...วัดกำลังอัดใหม่ จาก180เหลือ142psi หรือถ้านับเฉพาะก่อนซ่อม กับหลังซ่อมเสร็จ กำลังอัดก็จะเพิ่มขึ้นจาก95เป็น142psi✅✅


-ประกอบจนเสร็จ สุดท้าย...ได้รถสตาร์ทติดง่าย เร่งออกทั้งเวลาเครื่องเย็น-เครื่องร้อน

✅✅...เสร็จสิ้นการแก้ปัญหาที่2...✅✅

ใช้เวลาไปราวๆ10ชั่วโมง ในการทำความสะอาดเชื้อรา ล้าง ถอด ประกอบ หลงทาง ขันน็อตปีนเกลียวบ้างไรบ้าง แกะไม่ออกบ้าง น้ำมันหยดจากคาร์บูบ้าง แต่ทำรถเสร็จแล้ว ใส่น็อตกลับครบทุกตัว อาการรถมันดีขึ้น ดีใจมาก (ดีใจที่ไม่ได้ทำรถเค้าพังคามือ ฮาาาาาา)


สรุปปิดท้าย

👍👍ซ่อมรถแบบไล่จากเหตุไปผล จากต้นทางของวงจรสันดาป ไปยังปลายทางของวงจรสันดาป มันได้ผลจริงๆนะ

👍👍พอมาคิดดูดีๆ เราว่า รถหัวฉีดมันก็ซ่อมไม่ได้ยากกว่ารถคาร์บูนะ ฮาาาาาา

1 ความคิดเห็น: