อาการก่อนซ่อม: สตาร์ทติดยาก ต้องบิดคันเร่งช่วยเบิ้ลเครื่องทุกครั้ง จากเดิมที่เคยกดสตาร์ทติด แบบไม่ต้องบิดคันเร่งช่วย
ตรวจเช็คก่อนซ่อม...
1.ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน 1.0mm.
2.วัดกำลังอัดก่อนตั้งวาล์ว ไม่ได้วัดก่อนซ่อม,แต่เราอ้างอิงจากที่เคยวัดไว้ตอนระยะ37000กม.ตอนนั้นวัดได้ 157psi
3.ระยะห่างวาล์วเดิม in=0.10mm. ex=0.18mm.
ลงมือปรับตั้ง...
4.ปรับระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน จาก 1.0mm. เหลือ 0.7mm. (ตามมาตรฐาน)
5.ตั้งระยะห่างวาล์ว in=0.16mm. ex=0.25mm. (ตามมาตรฐาน)
6.วัดกำลังอัดหลังตั้งวาล์วแล้ว ได้ 165psi ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 175psi
สรุปผลหลังปรับตั้ง...
-สตาร์ทครั้งเดียวติด สตาร์ทติดง่ายเหมือนรถใหม่ แม้จะไม่ได้ใช้ไดเกียว ฮาาาาาา
-สังเกตได้ว่าเริ่มมีน้ำมันเครื่องติดตามเกลียวหัวเทียน น้ำมันเครื่องอาจจะดันขึ้นมาเข้าห้องเผาไหม้บางส่วน
-เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย คาดว่าเกิดจากระยะห่างวาล์วที่เพิ่มขึ้น
-ออกตัวจี๊ดขึ้นกว่าเดิม ช่วงเร่งแซงพุ่งกว่าเดิม แต่อัตราเร่งช่วง80-110(หน้าปัด) จะลดลงกว่าก่อนตั้งวาล์ว(วัดด้วยความรู้สึกล้วนๆนะ)
-top speed เท่าเดิม ตามสไตล์รถขูดชามแล้ว
-ครั้งนี้ไม่ได้รื้อคาร์บู เพราะการรื้อคาร์บู1ครั้งก็ใช้ความละเอียดไม่ต่างจากถอด-ประกอบเครื่องยนต์เลย
***เกร็ดความรู้****
1.click คาร์บู ใช้ระบบโช๊คไฟฟ้า วงจรโช๊คจะกั้นอากาศในวงจรความเร็วอัตโนมัติทุกครั้งที่เครื่องเย็น และจะปิดโช๊คทุกครั้งที่ขี้ผึ้งร้อน ทำให้ไม่ต้องใช้สายเคเบิ้ลดึงโช๊ค
2.click คาร์บู ใช้ก๊อกน้ำมันแบบสุญญากาศ น้ำมันจากถังจะไหลก็ต่อเมื่อเกิดแรงดูดขึ้นในท่อร่วมไอดี จึงไม่ใช้วาล์วเปิด-ปิดเหมือน dream รุ่นก่อนๆ
3.click คาร์บู มีท่ออากาศวงจรเดินเบา เป็นท่อยางเล็กๆข้างคาร์บู แยกออกจากท่ออากาศวงจรความเร็ว(ที่ต่อมาจากหม้อกรองอากาศ) ซึ่งไม่มีไส้กรองอากาศคอยดักฝุ่น ก่อนอากาศจะเข้าไปในวงจรเดินเบา...ควรระวังฝุ่นและน้ำเข้าคาร์บูทางท่อยางนี้
4.click คาร์บู ใช้คาร์บูแบบสุญญากาศ(ลิ้นเร่งแบบปีกผีเสื้อ ไม่ใช่ลูกชัก) จุดอ่อนอยู่ที่แผ่นไดอะเฟรมที่ยกเข็มน้ำมัน จะบางมาก ไม่เหมาะกับน้ำมันE20 / E85
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น