วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

"งานปรับแต่ง" รถที่ใส่แคมซิ่ง แล้วมีอาการเดินเบาไม่นิ่ง ตอนเครื่องเย็น เกิดจากอะไร?


ข้อมูลจาก "อู่ไอติมการาจ"

https://www.facebook.com/prof.pittana/posts/2199430196743416

หลายคนน่าจะมีปัญหา ใส่แคมแต่งองศาสูงแล้วเดินเบาไม่เรียบ หรือเดินเบาแล้วดับ แต่ถ้าเครื่องร้อนมากๆ จะเดินเบาได้

1. Dynamic compression ratio หรืออัตราส่วนการอัดที่แปรผันตามรอบเครื่องยนต์ ตามองศาแคม
ปกติแคมเดิม ที่รอบต่ำสร้างกำลังอัดได้สูง มีแรงดูดอากาศที่รอบต่ำสูงกว่าแคมแต่ง ดังนั้นแคมเดิมจึงต้องการน้ำมันที่มากกว่าในรอบต่ำ

2. กล่องเดิมโรงงาน ตอนเครื่องเย็นมากๆ จะสั่งให้หัวฉีดจ่ายหนาเพื่อให้ติดเครื่องได้ง่าย และจะจ่ายน้ำมันน้อยลงเมื่ออุณหภูมิเครื่องยนต์สูงขึ้น
ปัญหานี้จะไม่พบในแคมเดิม เพราะแม้น้ำมันจ่ายหนาตอนเครื่องเย็น ยังสามารถเดินเบาได้ปกติ
แต่ถ้าเป็นแคมแต่ง เมื่อเจอน้ำมันหนาในช่วงเครื่องเย็น รถจะมีอาการน้ำมันท่วมแล้วดับไป ดังนั้นพวกใส่แคมแต่งมักจะเดินเบาได้ตอนเครื่องร้อน

ในคลิปเป็นรถ wave 125 ใส่แคม NK v3 มา ก่อนหน้าจูนโหมด standalone เดินเบาได้ เพราะใส่ค่าการจ่ายน้ำมันคงที่ แต่เนื่องจากลค.เอาไปขี่บนเขา ผมจึงใส่โหมด pikky back ให้


คลิปแรก แต่พบว่าช่วงเครื่องเย็น กล่องโรงงานจะสั่งยกหัวฉีดนาน จึงเดินเบาไม่ได้ (ถ้าเป็นแคมเดิมยกประมาณ 4-5 ms ) เดินเบาสบาย


คลิปที่สอง ลดเวลาการยกหัวฉีดลง 30%
หัวฉีดยกประมาณ 2.5 ms น้ำมันจึงไม่ท่วม สามารถเดินเบาเรียบได้เหมือนแคมเดิม

ดังนั้นลค.ที่จะใส่แคมแต่งที่องศาเยอะๆ ต้องนึกถึงเรื่องนี้ด้วย ไม่งั้นจะใช้ชีวิตลำบาก นอกจากจะกำลังช่วงรอบต่ำหายแล้ว เดินเบายังลำบาก

พอเดินเบาไม่ได้ โอทูก็ไม่ร้อน ก็ส่งค่าบอกกล่องว่าบาง ยิ่งจ่ายหนาหนักกว่าเก่า

พอเดินเบาไม่เรียบ ค่า map ไม่คงที่ (แรงดูดอากาศ) กล่องโรงงานก็สั่งจ่ายน้ำมันขึ้นๆลงๆ เดินเบาไม่ได้หนักกว่าเดิม

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

"งานปรับแต่ง" รีวิว(ละเอียดมาก):ชุดคิท hi-speed เสื้อสูบ waveปลาวาฬ 150cc.

Specification: ยี่ห้อ Hi-speed piston kit 57mm. (Wave125i ปลาวาฬ)

รีวิวเอง ซื้อเอง เพื่อจะนำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกับงานปรับแต่ง "มอเตอร์ไซค์สายออกทริป"

ราคาเสื้อสูบ+ชุดลูกสูบ57มม. = 1,300บาท
ราคาชุดปะเก็นทองแดง+ปะเก็นตีนเสื้อ+ปะเก็นท่อไอเสีย = 150บาท


1.ปะเก็นทองแดง
-ความหนาของปะเก็นทองแดง หนา 0.40 มม.
-ความหนาของปะเก็นทองแดง+รอยนูน หนา 0.60 มม.
-เส้นผ่านศูนย์กลางปะเก็นทองแดง ขนาด 56.65 มม.

2.ปะเก็นตีนเสื้อสูบ(ปะเก็นกระดาษ)
-หนา 0.45 มม.
-เส้นผ่านศูนย์กลางของปะเก็นตีนเสื้อสูบ ขนาด 66.75 มม.

3.ปะเก็นท่อไอเสีย
-หนา 3.45 มม.
-เส้นผ่านศูนย์กลาง ภายใน ขนาด 24.90 มม.
-เส้นผ่านศูนย์กลาง ภายนอก ขนาด 31.90 มม.


4.สลักบน (pin)
-ขนาด 12.95 มม.
-ยาว 41.75 มม.
-น้ำหนัก 27 กรัม




5.ลูกสูบ
-เส้นผ่านศูนย์กลาง ขนาด 56.50 มม. (วัดที่ตำแหน่งแหวนอัดตัวล่าง)
-ระยะจากหัวลูกสูบถึงรูสลักลูกสูบ (ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะเรียกว่าระยะL) 14.45 มม.
-ระยะจากแหวนตัวบนถึงหัวลูกสูบที่นูนที่สุด 6.70 มม.
-ระยะจากกลางสลักบนถึงหัวลูกสูบที่นูนที่สุด 20.95 มม.
-ความสูงจากหัวลูกสูบที่นูนที่สุดถึงรอยกลึงหลบเพลาข้อเหวี่ยงใต้ลูกสูบ 31.50 มม.
-ความกว้างของกระโปรงลูกสูบ 41.15 มม.
-ความสูงตั้งแต่หัวลูกสูบที่นูนที่สุดถึงชายกระโปรงลูกสูบ 37.50 มม.
-ร่องลดความฝืด 0.8×3=2.4 มม.
-น้ำหนักลูกสูบ 93 กรัม
-น้ำหนักลูกสูบ+แหวน+สลักบน+คลิ๊บล็อค 127 กรัม

**เส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมหลบวาล์วไอดีบนลูกสูบ 28.00 มม.
**เส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมวาล์วไอเสียบนลูกสูบ 24.75 มม.




6.เสื้อสูบ
-รหัส KYZ
-เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 56.60 มม.
-เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (เท่ากับความหนาของปลอกเหล็ก) 64.75 มม.
-ความสูงของเสื้อสูบ 64.20 มม.
-น้ำหนักของเสื้อสูบ 1,561 กรัม


ทั้งนี้...จะนำอะไหล่ที่ได้ไปปรับแต่งให้ได้อัตราส่วนการอัดประมาณ 9.3:1 ถึง 10:1

อะไหล่อื่นๆที่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติม
1.ลิ้นเร่งคว้าน เปลี่ยนใบ ขนาด 28มม.(เดิม24มม.)
2.คอย่นไอดี คว้านขยายให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดลิ้นเร่ง ขนาด 28-26 มม. (หรี่ให้เล็กลงเพื่อรีดไอดีให้ไหลเร็วขึ้น)
3.หัวฉีด 6รูJ (click125) หรือ 6รูG (pcx150) เป็นการเพิ่มซีซีของหัวฉีด และอาจจะต้องใช้กล่องปรับจูนน้ำมัน Fuel up ชนิดจูนทั้งกราฟ เพื่อใช้ชดเชยการสั่งจ่ายน้ำมันให้เสถียรขึ้น
4.ขยายพอร์ทไอดี-ไอเสีย
5.เปลี่ยนใบวาล์วเป็นขนาด 28/24มม. ตรงรุ่น sonic
6.เปลี่ยนคอท่อไอเสีย ให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 23 มม.
7.เปลี่ยนหัวเทียนให้เป็นหัวเทียนเบอร์เย็นกว่าเดิม (เบอร์8 ของ NGK) รหัส CPR8EA-9 ซึ่งจะเป็นหัวเทียนรุ่นเดียวกับ scoopy-i
8.โซ่ สเตอร์ จำเป็นจะต้องไล่ใหม่ แต่ผมจะใช้โซ่เบอร์ 428 เพื่อเพิ่มความทนทาน+รองรับแรงม้า แรงบิดที่เพิ่มขึ้น

อะไหล่ที่จะใช้ของเดิม standard
1.หม้อกรองอากาศ+ไส้กรองอากาศแท้ เดิม
2.ปั๊มติ๊กเดิม (ถ้าปั๊มดูดได้ในปริมาณที่มากพอกับหัวฉีดใหม่)
3.กล่องECM เดิม ไม่ปลดรอบ,องศาจุดระเบิดเหมือนเดิม
4.แคมเดิม เพื่อเน้นย่านกำลัง+นิสัยรถในรอบต่ำ-กลางเหมือนเดิม
5.สปริงวาล์วเดิม เพราะยังใช้แคมเดิม,ระยะการกดสปริงวาล์วเท่าเดิม และกล่องECMเดิม ไม่ได้ใช้รอบเครื่องสูงเกิน10,000rpmอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุให้ต้องปรับแต่งสปริงวาล์ว
6.รีเทนเนอร์+เล็บวาล์วเดิม
7.ชุดโซ่ราวลิ้นเดิม
8.หม้อพักท่อไอเสียเดิม รูที่ปลายท่อไอเสียเดิม ขยายเฉพาะคอท่อไอเสียให้ใหญ่ขึ้น
9.คอยล์หัวเทียนเดิม
10.ชุดก้านสูบ+เพลาข้อเหวี่ยงเดิม+ชุดคลัชเดิม+เกียร์เดิม อาจจะเจาะรูที่เสื้อคลัชให้มีน้ำมันไปเลี้ยงแผ่นคลัชมากขึ้น...แก้ปัญหาคลัชลื่นเวลาขี่ทางไกลๆของตระกูล waveปลาวาฬ+MSX
11.เครื่องมือตรวจเช็ค doctor api หรือ อาจจะเป็น moto gauge by ecu-shop ไว้ใช้อ่านค่าของ sensorทุกตัวที่เกี่ยวข้องในเครื่องยนต์ เป็นของที่ต้องมีในการจูนรถให้สมบูรณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์

Projectนี้ ผมจะปรับแต่งให้ระยะความหนาของปะเก็น+ความหนาของเสื้อสูบ เท่ากับรถ standard เพื่อป้องกันไม่ให้โซ่ราวลิ้นตึง และองศาแคมเพี้ยนไปจากเดิม

...ติดตามตอนต่อไป...