วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

"งานปรับแต่ง" EP.2 อัพซีซีให้waveปลาวาฬ

ต่อจาก EP.1 ซึ่งผมเขียนเว้นช่วงไปค่อนข้างนาน

ส่วนนึงเพราะผมไม่ได้มีอาชีพซ่อมมอเตอร์ไซค์ เลยต้องแบ่งเวลาหลังเลิกงาน มาคิด ปรับแต่งรถเอง

นอกจากนี้ งานอัพซีซีชิ้นแรกของผม ก็ผ่านการลองผิด ลองถูกไปเยอะมาก...เฉพาะฝาสูบก็ลองทำไป 3 ฝา หมดเงินไปไม่น้อย และไม่ได้แสวงหากำไรแม้แต่น้อย



...นอกจากนี้ ก็ยังเจอปัญหากับลูกสูบเป็นรอย ความร้อนสูง น้ำมันเครื่องระเหยบางส่วน


...พอเริ่มแก้ปัญหาได้ กว่าจะไล่รถให้ได้อัตราเร่งดี ปลายไหล เผาไหม้สมบูรณ์ ก็เลยใช้เวลา3-4เดือนจึงจะเข้าที่ได้



...ตั้งแต่เริ่มอัพซีซี ตอนนี้ผมใช้รถมา 4,400 กม. แล้ว ทุกอย่างลงตัวและคงที่ เป็นรถที่เสถียรแล้ว EP. ถัดไปจะสรุปสูตรการปรับแต่งที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันให้ได้อ่านต่อไป



...ผมจะไม่ขอเล่าเรื่องความผิดพลาดของการลองผิดลองถูก เพื่อให้ทุกคนที่อ่านได้เอา สูตรสำเร็จของผม ไปต่อยอด ปรับใช้กัน

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

"งานปรับแต่ง" EP1: อัพซีซี waveปลาวาฬ ให้เป็น wave150i

อารัมภบท... EP1 : พูดถึงการวัดอัตราส่วนการอัด

...สมัยประถมเคยโดนครูตีประจำ ส่วนมากที่แก้สมการผิดเพราะลืมแปลงหน่วย!!! จากมิลลิเมตร เป็นเซ็นติเมตร ก่อนจะแทนค่าหาความจุใน v=¶r2h
...แต่คราวนี้คงไม่น่าพลาดแล้วล่ะ


"Wave150i คำนวณอัตราส่วนการอัดได้ 10.957:1"

++Specification++
-ลูกสูบ x ระยะชัก : 57x57.9 mm.
-ปริมาตรจริงอยู่ที่ 147.742 cc.




++ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง++
-ลูกสูบkaze ขนาด 57 มม. ยี่ห้อ ART
-ระยะชักเดิม
-ใช้ปะเก็นแท้ตรงรุ่น คว้าน/เจียร์มือเอง (ทำไม่ค่อยถนัดนัก)
-ใช้เสื้อสูบสร้างของค่าย Hi-speed (จะถือว่าเป็นของเทียมก็ได้ ฮาาาาา)
-ความสูงของเสื้อสูบจะเท่ากับของแท้เดิมเป๊ะ! แต่ปลอกเหล็กหนากว่าของเดิมมากกก คว้านได้อีกหลายไซส์
-ทดลองคำนวณโดยใช้ฝาสูบเดิมๆติดรถเป็นตัวแปรไปพลางก่อน



++วิเคราะห์/ทำนายผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น++
...พอจะทำนายได้ว่า ถ้าใส่แคมเดิม เฟืองโซ่ราวลิ้นเดิม วาล์วเดิม(เพราะยังไม่ได้ควักเบ้าฝาสูบ) ถ้าว่ากันตามทฤษฎีคือ ตัวเลขขนาดนี้กับรถไม่มีหม้อน้ำแบบนี้ เสี่ยงเครื่องพัง!

...แต่ความจริงแล้ว ทฤษฎีก็ถูกลบล้างได้เสมอ หรือถ้าใครจะลองเอาสูตรนี้ไปประกอบก็ทำได้ แต่ควรใช้เครื่องมือ diagnostic (ตัวอ่านค่าจากกล่อง ECU) ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่อ่านค่าได้จากเซ็นเซอร์ จะได้ไม่ต้องเดาออกทะเลไปว่า น้ำมันบางไปมั้ย น้ำมันท่วมมั้ย เครื่องร้อนไปมั้ย เป็นต้น

...เราคงไม่ประกอบรถด้วยสูตรนี้ เพราะไม่ถนัดรื้อรถบ่อยๆ เน้นคำนวณแล้วจบบนกระดาษ

...ของจริงจะใช้ฝาสูบจากโรงกลึงโกเอกจอมมารภูเก็ต กับลิ้นเร่งเดิมคว้านเป็นขนาด28มม. ตอนนี้กำลังเข้าคิวอยู่ที่โรงกลึง ไว้ฝาสูบกลึงมาเสร็จแล้วค่อยมาว่ากันอีกทีนึง

ปล.ระหว่างที่รอฝาสูบ จะโมดิฟายคลัทช์ไปพลางๆก่อน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

++งานซ่อม++ click 110 แก้ปัญหาเครื่องดับบ่อยๆขณะเร่งออกตัว

เพิ่งปิดจ๊อบไปอีกคันนึง
Honda click 110 คันนี้เป็นรถซื้อแกงประจำบ้านของผมเอง


-แก้ปัญหาเครื่องดับบ่อยๆขณะเร่งออกตัว

-พบว่าท่อยางเสื่อมสภาพตามอายุรถ(12ปี) ฉีกขาดเป็นรูรั่วเล็กๆ ทำให้มีระบบสูญญากาศทำงานผิดปกติ ทำให้เครื่องยนต์ดับบ่อย และเร่งได้ไม่เต็มกำลัง



-สังเกตในรูปจะเห็นได้ว่า มีท่อยางที่ต่อออมาจากคอไอดี(แป้นหรีด)อยู่2ท่อ ซึ่งมันมักจะฉีกขาดจากการเสื่อมสภาพ ทำให้รถรุ่นนี้มักดับบ่อยๆตอนอายุรถมากขึ้น

-ท่อเส้นนึงจะต่อเข้ากับวงจร "ระบบบำบัดไอเสีย" ซึ่งผมได้ทำการตัดท่อยางส่วนที่ชำรุดออก แล้วก็ดึงท่อยางที่ยังมีสภาพดีส่วนที่เหลือต่อกลับไปเหมือนเดิม รวมถึงหุ้มฉนวนสีดำกันท่อยางสูญญากาศเอาไว้อีกชั้นนึง ตามภาพ

-ส่วนท่ออีกเส้นนึง ก็เป็นท่อสูญญากาศเช่นกัน จะต่อเข้ากับวงจรก๊อกน้ำมันแบบสูญญากาศ...ในกรณีถ้าท่อเส้นนี้ชำรุด ก็จะทำให้ไม่มีน้ำมันไหลเข้าคาร์บู ทำให้รถดับกลางอากาศได้เช่นกัน

-ตรวจเช็คเอง ซ่อมเอง จบงานเอง

-เผยแพร่เป็นวิทยาทานสำหรับคนใช้รถที่มีพื้นฐานการตรวจเช็ค ไม่หวงความรู้ครับ

-ขอบคุณสำหรับการเข้ามาอ่านblogนี้ เร็วๆนี้จะมีโพสต์++งานซ่อม++ที่น่าสนใจ รวมถึง++งานปรับแต่ง++ Wave150i project ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการปรับแต่งทั้งหมด, การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกราฟ, การคำนวณเชิงวิทยาศาสตร์ ก่อนจะรวบรวมเป็นสเปค หรือ"สูตร"สำหรับคนงบน้อย แต่ทน ถึก ไม่รวน บำรุงรักษาง่าย ติดตามได้ครับ...