fino คันที่อาการสตาร์ทติด แต่เร่งไม่ออก
ปิดจ๊อบแล้ว!! 😎😎😎
1.เปลี่ยนก๊อกน้ำมันสุญญากาศใหม่ 350บาท...ต้นเหตุเกิดจากไส้กรองเบนซินตัน+น้ำมันไหลเข้าคาร์บูไม่คล่อง...เราล้างทำความสะอาดท่อน้ำมัน+เปลี่ยนก๊อกใหม่
2.เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ 50บาท...เพราะของเดิมเขี้ยวหัวเทียนสึกมากเกินไป+คราบเขม่าติดเยอะมาก
3.แก้ปัญหาเข็มเร่งคลอนอีกครั้ง...แกะออกมาพันเทปพันเกลียวอีกครั้งนึง หลังจากที่สังเกตได้ว่า ตอนลองถอดฝาครอบลูกยางสุญญากาศ ตรวจสอบการทำงาน แล้วเจอว่าลูกยางสุญญากาศมันยกตัวผิดปกติ เหมือนมีอากาศซึมเข้ามาได้...
สุดท้ายเราตัดสินใจใช้เทปพันเกลียวซีลไม่ให้เข็มเร่งก้บลูกเร่งคลอน (ปกติจะต้องซื้อเปลี่ยนใหม่) แล้วมันก็กลับมาเร่งติดมือเหมือนปกติ...ปิดจ๊อบ!!!
สรุป เคสนี้ซ่อมไป4รายการ
✅1.ล้างไส้กรองอากาศ+เคาะฝุ่น+ขัดหม้อกรองอากาศ
✅2.ล้างคาร์บูเต็มระบบ+ซ่อมลูกเร่งสุญญากาศให้กลับมาใช้ได้ แบบลูกทุ่งๆ
✅3.เปลี่ยนก๊อกน้ำมัน+ทำความสะอาดไส้กรองเบนซิน+ท่อยางเต็มระบบ
✅4.เปลี่ยนหัวเทียนให้จุดประกายไฟได้สมบูรณ์
👍👍👍ถือว่าครบองค์ประกอบ3อย่าง...อากาศ,น้ำมัน,ไฟ👍👍👍
ซ่อมรถคาร์บูมันไม่ได้ง่ายเลย😩😩😩
แหล่งคลังความรู้ยานยนต์ รวบรวมจากประสบการณ์ส่วนตัว สำหรับเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
++งานซ่อม++ Fino115 สตาร์ทติดง่าย...แต่เร่งเครื่องไม่ขึ้น!!
บทความสั้นๆ เรื่องปวดหัวของรถเก่าๆ แต่ก็ทำเพราะใจรัก
...รถข้างบ้าน(บ้านพี่หมวดเจ้าเดิม)คราวนี้เป็น Fino 115 เข็นมาให้ซ่อมอีกคันนึงหลังจากที่เค้าประทับใจผลงานการซ่อม Suzuki Step 125 ชนิดที่ชมบ่อยๆว่า "รถคันนี้แรงดี ขับดี เร่งดีเหมือนตอนรถออกมาใหม่ๆเลย" แถมไว้ใจให้เราซ่อมให้ เมื่อไหร่ก็ได้ไม่รีบ เช็คได้เต็มที่เลย
เรื่องของเรื่องคือ Fino คันนี้ สตาร์ทติดง่าย ชึ่งเดียวติดทุกครั้ง...แต่เร่งไม่ออก ล้อแทบไม่หมุนเลย!!
เราเลยเปิด youtube ดูคู่มือการซ่อมคาร์บูชนิดนี้(เรียกว่า คาร์บู แบบลูกเร่งสุญญากาศ) เค้าบอกว่าอาการนี้เกิดได้จาก4สาเหตุ
👍1.เกิดจากลูกยางสุญญากาศฉีกขาด
👍2.เกิดจากเข็มเร่งมีระยะคลอน
👍3.เกิดจากขันสกรูปรับส่วนอากาศเดินเบาไม่ถูกต้อง
👍4.เกิดจากช่องทางเดินน้ำมัน หรืออากาศ อุดตัน
✅สาเหตุที่1...เราลองรื้อลูกยางสุญญากาศออกมาดึง ส่องไฟดู แต่ไม่เจอรูรั่ว+ตอนประกอบลูกยางสุญญากาศ เราก็ใช้กาวบอนด์ซีลกันรั่วเพิ่มไปอีกชั้นนึงด้วย เราเลยคิดว่าคงไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก✅
✅สาเหตุที่2...เราเจอว่าเข็มเร่งมีระยะคลอนมาก ทฤษฎีเค้าบอกว่าจะทำให้มีอากาศรั่วเข้าไปในช่องทางนี้ ให้เปลี่ยนเข็มเร่ง+ลูกยางสุญญากาศใหม่!!!
เราเลยอุตริ...เอาเทปพันเกลียวพันรอบเข็มเร่ง แทนซื้อเปลี่ยนใหม่ 5555 วิชามารนิดๆ ไม่ต้องหยอดกาว ไม่เป็นอันตรายกับพื้นผิวลูกเร่งด้วย อันนี้ถือว่าอาจจะเป็นสาเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก แล้วก็ได้แก้ไขแล้ว✅
✅สาเหตุที่3...ลองขันสกรูอากาศเดินเบาดู ปรากฏว่าของเดิมขันไว้ถูกต้องอยู่แล้ว(รุ่นนี้ขันสกรู2รอบ) ถือว่าข้อนี้ยังไม่ใช่สาเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก✅
✅สาเหตุที่4...ท่อทางเดินอากาศ หรือท่อน้ำมันอุดตัน...สาเหตุนี้ค่อนข้างครอบคลุมอุปกรณ์หลายชิ้นในระบบเครื่องยนต์ แยกย่อยได้ประมาณนี้
4.1 ทำความสะอาดหม้อกรองอากาศ+ไส้กรองอากาศ...ปราการด่านแรกก่อนที่จะมีลมผ่านเข้าไปถึงคาร์บู ก็ต้องหม้อกรองอากาศนี่แหละ ขัด ถู เคาะฝุ่น เช็ดคราบ ให้สะอาด...ขั้นตอนนี้ถือว่าเช็คละเอียดพอสมควร ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
4.2 นมหนูคาร์บูตัน...เราเลยรวบรวมความกล้าแล้วพยายามรื้อคาร์บูออกมาดูอย่างเบามือที่สุด ปรากฏว่านมหนูยังปกติดี ใช้สายยางเป่าลม ใช้คอตตอนบัตแหย่ๆรูนิดหน่อย+ทำความสะอาดทุกซอกมุม ใช้ลมเป่าทุกรูเข็มในคาร์บู แต่งานงอกตรงที่โอริงฝาครอบห้องลูกลอยเสื่อมสภาพ กว่าจะนั่งขัดคราบยางโอริง กว่าจะทากาวประเก็นแบบไม่ให้มีรอยรั่วซึมกลับไปนี่ใช้เวลาเยอะเอาเรื่อง...ขั้นตอนนี้ถือว่าตรวจเช็คละเอียดแล้ว ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
4.3 ขันกิ๊บรัดท่อยาง...ตรวจพบว่า ท่อยางคาร์บูที่ต่อไปที่ท่อไอดีหลวมมาก(ช่างน่าจะลืมขันมาให้)...แก้ปัญหาเรียบร้อย ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
❌❌❌
แต่พอเราประกอบรถกลับเข้าที่ อาการสตาร์ทติดง่ายแต่เร่งไม่ขึ้นก็ยังมีเหมือนเดิม!!!❌❌❌
ใช้เวลา6ชั่วโมง กับการล้างคราบโสโครกภายใน รื้อ ถอด ประกอบ ตามที่เขียนไว้ข้างบน สุดท้ายก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ตอนนี้เราเองพอจะวิเคราะห์สาเหตุของปัญหานี้เพิ่มได้อีก2-3อย่าง
📌1.อาจจะเกิดจากไส้กรองอากาศอุดตัน...กรณีนี้เราเคยเจอรถที่เป่ากรองกระดาษสะอาดดีแล้วแต่ก็ยังอุดตัน...วิธีนี้ควรถอดหัวเทียนออกมาเช็คดีว่ามีคราบเขม่าดำติดหัวเทียนหรือเปล่า(ส่วนผสมหนามาก) ส่วนใหญ่จะตามมาด้วยอาการสตาร์ทติดยาก เพราะเขม่าดำเกาะบนหัวเทียนหนามากจนหัวเทียนบอด ***ประเด็นนี้เรายังไม่ได้เช็ค อาจจะขันหัวเทียนออกมาดูก่อนเป็นลำดับแรก
📌2.ท่อลำเลียงน้ำมันจากในถัง อุดตัน...เคยเจอชนิดที่ น้ำมันไหลช้า ไหลเอื่อยๆ ตอนใช้C70 อันนี้ก็ยังไม่ได้เช็ค
📌3.ก๊อกน้ำมันเสีย...เพราะก๊อกรุ่นนี้เป็นแบบสุญญากาศ จะมีสายยางเส้นนึงต่อกับคอท่อไอดีไปที่ก๊อก แล้วอาศัยแรงดูดของลูกสูบเป็นกลไกเปิดก๊อกให้น้ำมันไหลออกจากถังน้ำมันทุกครั้งที่มีแรงดูด ก๊อกแบบนี้จะไม่ได้ใช้ก๊อกปิด-เปิดเหมือนdream... กรณีนี้ถ้าน้ำมันไหลเอื่อยๆ ลงมาเติมในห้องลูกลอยไม่พอ อาจจะทำให้น้ำมันเข้าห้องเผาไหม้ไม่พอได้เหมือนกัน
😩😩😩 ซ่อมรถมันเหนื่อยมาก แต่จะพยายามต่อไป💖💖💖
...รถข้างบ้าน(บ้านพี่หมวดเจ้าเดิม)คราวนี้เป็น Fino 115 เข็นมาให้ซ่อมอีกคันนึงหลังจากที่เค้าประทับใจผลงานการซ่อม Suzuki Step 125 ชนิดที่ชมบ่อยๆว่า "รถคันนี้แรงดี ขับดี เร่งดีเหมือนตอนรถออกมาใหม่ๆเลย" แถมไว้ใจให้เราซ่อมให้ เมื่อไหร่ก็ได้ไม่รีบ เช็คได้เต็มที่เลย
เรื่องของเรื่องคือ Fino คันนี้ สตาร์ทติดง่าย ชึ่งเดียวติดทุกครั้ง...แต่เร่งไม่ออก ล้อแทบไม่หมุนเลย!!
เราเลยเปิด youtube ดูคู่มือการซ่อมคาร์บูชนิดนี้(เรียกว่า คาร์บู แบบลูกเร่งสุญญากาศ) เค้าบอกว่าอาการนี้เกิดได้จาก4สาเหตุ
👍1.เกิดจากลูกยางสุญญากาศฉีกขาด
👍2.เกิดจากเข็มเร่งมีระยะคลอน
👍3.เกิดจากขันสกรูปรับส่วนอากาศเดินเบาไม่ถูกต้อง
👍4.เกิดจากช่องทางเดินน้ำมัน หรืออากาศ อุดตัน
✅สาเหตุที่1...เราลองรื้อลูกยางสุญญากาศออกมาดึง ส่องไฟดู แต่ไม่เจอรูรั่ว+ตอนประกอบลูกยางสุญญากาศ เราก็ใช้กาวบอนด์ซีลกันรั่วเพิ่มไปอีกชั้นนึงด้วย เราเลยคิดว่าคงไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก✅
✅สาเหตุที่2...เราเจอว่าเข็มเร่งมีระยะคลอนมาก ทฤษฎีเค้าบอกว่าจะทำให้มีอากาศรั่วเข้าไปในช่องทางนี้ ให้เปลี่ยนเข็มเร่ง+ลูกยางสุญญากาศใหม่!!!
เราเลยอุตริ...เอาเทปพันเกลียวพันรอบเข็มเร่ง แทนซื้อเปลี่ยนใหม่ 5555 วิชามารนิดๆ ไม่ต้องหยอดกาว ไม่เป็นอันตรายกับพื้นผิวลูกเร่งด้วย อันนี้ถือว่าอาจจะเป็นสาเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก แล้วก็ได้แก้ไขแล้ว✅
✅สาเหตุที่3...ลองขันสกรูอากาศเดินเบาดู ปรากฏว่าของเดิมขันไว้ถูกต้องอยู่แล้ว(รุ่นนี้ขันสกรู2รอบ) ถือว่าข้อนี้ยังไม่ใช่สาเหตุของปัญหารถเร่งไม่ออก✅
✅สาเหตุที่4...ท่อทางเดินอากาศ หรือท่อน้ำมันอุดตัน...สาเหตุนี้ค่อนข้างครอบคลุมอุปกรณ์หลายชิ้นในระบบเครื่องยนต์ แยกย่อยได้ประมาณนี้
4.1 ทำความสะอาดหม้อกรองอากาศ+ไส้กรองอากาศ...ปราการด่านแรกก่อนที่จะมีลมผ่านเข้าไปถึงคาร์บู ก็ต้องหม้อกรองอากาศนี่แหละ ขัด ถู เคาะฝุ่น เช็ดคราบ ให้สะอาด...ขั้นตอนนี้ถือว่าเช็คละเอียดพอสมควร ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
4.2 นมหนูคาร์บูตัน...เราเลยรวบรวมความกล้าแล้วพยายามรื้อคาร์บูออกมาดูอย่างเบามือที่สุด ปรากฏว่านมหนูยังปกติดี ใช้สายยางเป่าลม ใช้คอตตอนบัตแหย่ๆรูนิดหน่อย+ทำความสะอาดทุกซอกมุม ใช้ลมเป่าทุกรูเข็มในคาร์บู แต่งานงอกตรงที่โอริงฝาครอบห้องลูกลอยเสื่อมสภาพ กว่าจะนั่งขัดคราบยางโอริง กว่าจะทากาวประเก็นแบบไม่ให้มีรอยรั่วซึมกลับไปนี่ใช้เวลาเยอะเอาเรื่อง...ขั้นตอนนี้ถือว่าตรวจเช็คละเอียดแล้ว ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
4.3 ขันกิ๊บรัดท่อยาง...ตรวจพบว่า ท่อยางคาร์บูที่ต่อไปที่ท่อไอดีหลวมมาก(ช่างน่าจะลืมขันมาให้)...แก้ปัญหาเรียบร้อย ตัดประเด็นนี้ทิ้งได้✅
❌❌❌
แต่พอเราประกอบรถกลับเข้าที่ อาการสตาร์ทติดง่ายแต่เร่งไม่ขึ้นก็ยังมีเหมือนเดิม!!!❌❌❌
ใช้เวลา6ชั่วโมง กับการล้างคราบโสโครกภายใน รื้อ ถอด ประกอบ ตามที่เขียนไว้ข้างบน สุดท้ายก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ตอนนี้เราเองพอจะวิเคราะห์สาเหตุของปัญหานี้เพิ่มได้อีก2-3อย่าง
📌1.อาจจะเกิดจากไส้กรองอากาศอุดตัน...กรณีนี้เราเคยเจอรถที่เป่ากรองกระดาษสะอาดดีแล้วแต่ก็ยังอุดตัน...วิธีนี้ควรถอดหัวเทียนออกมาเช็คดีว่ามีคราบเขม่าดำติดหัวเทียนหรือเปล่า(ส่วนผสมหนามาก) ส่วนใหญ่จะตามมาด้วยอาการสตาร์ทติดยาก เพราะเขม่าดำเกาะบนหัวเทียนหนามากจนหัวเทียนบอด ***ประเด็นนี้เรายังไม่ได้เช็ค อาจจะขันหัวเทียนออกมาดูก่อนเป็นลำดับแรก
📌2.ท่อลำเลียงน้ำมันจากในถัง อุดตัน...เคยเจอชนิดที่ น้ำมันไหลช้า ไหลเอื่อยๆ ตอนใช้C70 อันนี้ก็ยังไม่ได้เช็ค
📌3.ก๊อกน้ำมันเสีย...เพราะก๊อกรุ่นนี้เป็นแบบสุญญากาศ จะมีสายยางเส้นนึงต่อกับคอท่อไอดีไปที่ก๊อก แล้วอาศัยแรงดูดของลูกสูบเป็นกลไกเปิดก๊อกให้น้ำมันไหลออกจากถังน้ำมันทุกครั้งที่มีแรงดูด ก๊อกแบบนี้จะไม่ได้ใช้ก๊อกปิด-เปิดเหมือนdream... กรณีนี้ถ้าน้ำมันไหลเอื่อยๆ ลงมาเติมในห้องลูกลอยไม่พอ อาจจะทำให้น้ำมันเข้าห้องเผาไหม้ไม่พอได้เหมือนกัน
😩😩😩 ซ่อมรถมันเหนื่อยมาก แต่จะพยายามต่อไป💖💖💖
++งานซ่อม++ รถวิ่งไม่ออก หลังเติมน้ำมันเครื่องเกิน!! Suzuki Step 125
อาการของรถที่พบมี2ปัญหา
❌1.สตาร์ทไม่ติด แบตอ่อน เพราะจอดนานราวๆ1-2เดือน
❌2.หลังสตาร์ทติดแล้ว ทดลองขับดูก็พบว่า ยิ่งเครื่องยนต์อุ่นขึ้นเท่าไหร่ รถก็จะยิ่งเร่งไม่ออกเท่านั้น ขาไปบิดได้60-70 ขากลับวิ่งได้แค่40!!
👎👎เท้าความไปที่ปัญหาที่1 "รถจอดนานสตาร์ทไม่ติด"👎👎
-กดปุ่มสตาร์ท+เปิดโช๊ค สตาร์ทจนแบตหมด รถก็ยังไม่ติด
-ต่อด้วยสตาร์ทเท้า เปิดสวิทช์รถ ขึ้นขาตั้งเรียบร้อยแต่รถก็ยังไม่ติด!! เริ่มได้กลิ่นน้ำมันบูดออกทางท่อไอเสีย (น้ำมันเก่าค้างในถังนานเกิน)
-ขันหัวเทียนออกมาดู ปรากฏว่าหัวเทียนแห้ง ไม่เปียกน้ำมันเบนซิน แต่มีเขม่าสีดำเกาะรอบหัวเทียน
-ใช้กระดาษทรายขัดเขี้ยวหัวเทียน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วประกอบกลับ
-ผลปรากฏว่าสตาร์ทติด การขัดหัวเทียนมีผลดีจริง แต่เดินเบาได้ไม่กี่ครั้งก็ดับ!!
-ตัดสินใจพ่วงแบตกับ aerox155 แล้วก็เปิดโช๊คสตาร์ทอย่างต่อเนื่องทำให้เบาแรงสตาร์ทเท้าลงไปเยอะ ความหวังเริ่มมา😊😊
-สุดท้าย แกะฝาครอบออกมาตั้งเดินเบาใหม่ ถึงได้รู้ว่า รถคันนี้ตั้งเดินเบาสูงเกินไป ทำให้มีอากาศเข้าทางลิ้นเร่งเยอะเกินรถจึงสตาร์ทไม่ติด
-หลังจากสตาร์ทติด ทดลองขับดูใกล้ก่อน พบว่ารอบเดินเบาไม่นิ่ง...สูงบ้างต่ำบ้าง...บางครั้งรอบสูงจนเหมือนคันเร่งค้างทั้งๆที่ตัวตั้งรอบเดินเบาหมุนไปแค่0.5รอบ!!
-ลองเช็ควาล์วอากาศวงจรเดินเบา(ขันจูนอากาศ) พบว่า...เดิมตั้งจูนอากาศไว้ที่2รอบ...ก็เลยขันจูนอากาศใหม่ให้เหลือแค่1.5รอบ
-ผลปรากฏว่า รอบเดินเบานิ่งขึ้น สตาร์ทติดง่ายโดยไม่ต้องเบิ้ลคันเร่ง
✅✅...เสร็จสิ้นการแก้ปัญหาที่1...✅✅
👎👎...ปัญหาที่2 เร่งเครื่องไม่ออกทุกครั้งที่เครื่องยนต์อุ่นขึ้น👎👎
-วิเคราะห์สาเหตุจากอาการรถไม่ปกติจากอาการนี้ได้ประมาณ สาเหตุ
1.เข็มลูกลอยในคาร์บูเสีย สปริงท้ายเข็มเร่งจม เกิดจากจอดรถนานจนทำให้สปริงในเข็มลูกลอยจมค้าง ระดับน้ำมันในห้องลูกลอยน้อยเกินไป น้ำมันที่ผ่านนมหนูหลักถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้ได้น้อย รถจึงไม่มีแรง (คาร์บูแบบสูญญากาศ เหมือนKLX)
2.วาล์วยันตอนเครื่องอุ่นขึ้น ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท สูญเสียกำลังอัด ก็เป็นสาเหตุนึงเหมือนกัน
3.เติมน้ำมันเครื่องเยอะเกินไป ทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดแรงเสียดทานมากกว่าเดิม
✅✅ สรุป สาเหตุที่2-3 เป็นต้นเหตุที่ทำให้รถเร่งไม่ออก✅✅
-ครั้งแรก เราพยายามค่อยๆไล่เช็คระบบ จากต้นทาง ตั้งแต่ไส้กรองอากาศ-น้ำมัน-คาร์บู นมหนูเล็กใหญ่ เข็มเร่ง ลูกยางสูญญากาศลูกลอย เข็มลูกลอย-สังเกตสีหัวเทียน ใช้เวลา6ชั่วโมง โดยเฉพาะคาร์บู...รื้อทีนึงไม่ง่ายเลย มันละเอียดและขั้นตอนเยอะไม่ต่างกับผ่าประกอบเครื่องเลย
...แต่แล้วรถก็ยังสตาร์ทติดง่าย แต่เร่งไม่ออกทุกครั้งที่เครื่องยนต์อุ่นขึ้น
👎👎👎👎**การเติมน้ำมันเครื่องเกิน เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้ระยะห่างของวาล์วชิดขึ้น2-3มม.!! เยอะมากกกกก สังเกตได้จากโบล์ทปรับระยะวาล์ว ก่อนตั้งวาล์ว(รูปนึงไอดี รูปนึงไอเสีย)-หลังตั้งวาล์ว(รูปที่ใช้ฟิลเลอร์เกจสอดอยู่)👎👎👎👎
วาล์วไอดียัน ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท สตาร์ทติดยาก |
ตั้งระยะห่างไอดี 0.05 มม. |
วาล์วไอเสียยัน ทำให้วาล์วปิดไม่สนิท กำลังอัดรั่วไหล |
-ตอนที่ใส่น้ำมันเครื่องเกินแล้วตั้งวาล์วเสร็จปุ๊บ วัดกำลังอัดได้ 180psi
-พอทดลองสตาร์ทรถดูพบว่า เสียงวาล์วดังมาก เหมือนเสียงเหล็กเคาะกัน แก๊กๆๆๆๆๆ
-ตัดสินใจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ถ่ายทิ้ง วัดได้เกือบ2ลิตร!! แล้วก็เติมน้ำมันเครื่องใหม่เข้าไป1ลิตร
-หลังจากนั้นก็เปิดฝาวาล์วออกมาวัดระยะห่างอีกครั้ง ปรากฏว่า ระยะห่างเดิมที่ตั้งไว้ครั้งแรก0.05/0.10มม. มันกลายเป็นห่าง2-3มม. ทั้งๆที่ตั้งมาร์คตำแหน่งเดิมเป๊ะ!! แล้วก็ตั้งระยะห่างวาล์วใหม่อีกครั้งนึง ระยะเดิม ไอดี0.05มม. ไอเสีย0.10มม. (อ้างอิงจากคู่มือซ่อม Suzuki Jelato)
✅✅สรุปว่า...วัดกำลังอัดใหม่ จาก180เหลือ142psi หรือถ้านับเฉพาะก่อนซ่อม กับหลังซ่อมเสร็จ กำลังอัดก็จะเพิ่มขึ้นจาก95เป็น142psi✅✅
-ประกอบจนเสร็จ สุดท้าย...ได้รถสตาร์ทติดง่าย เร่งออกทั้งเวลาเครื่องเย็น-เครื่องร้อน
✅✅...เสร็จสิ้นการแก้ปัญหาที่2...✅✅
ใช้เวลาไปราวๆ10ชั่วโมง ในการทำความสะอาดเชื้อรา ล้าง ถอด ประกอบ หลงทาง ขันน็อตปีนเกลียวบ้างไรบ้าง แกะไม่ออกบ้าง น้ำมันหยดจากคาร์บูบ้าง แต่ทำรถเสร็จแล้ว ใส่น็อตกลับครบทุกตัว อาการรถมันดีขึ้น ดีใจมาก (ดีใจที่ไม่ได้ทำรถเค้าพังคามือ ฮาาาาาา)
สรุปปิดท้าย
👍👍ซ่อมรถแบบไล่จากเหตุไปผล จากต้นทางของวงจรสันดาป ไปยังปลายทางของวงจรสันดาป มันได้ผลจริงๆนะ
👍👍พอมาคิดดูดีๆ เราว่า รถหัวฉีดมันก็ซ่อมไม่ได้ยากกว่ารถคาร์บูนะ ฮาาาาาา
++งานซ่อม++ ปัญหาสตาร์ทติดยาก honda click 110 ที่ระยะ 39,300 กม.
อาการก่อนซ่อม: สตาร์ทติดยาก ต้องบิดคันเร่งช่วยเบิ้ลเครื่องทุกครั้ง จากเดิมที่เคยกดสตาร์ทติด แบบไม่ต้องบิดคันเร่งช่วย
ตรวจเช็คก่อนซ่อม...
1.ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน 1.0mm.
2.วัดกำลังอัดก่อนตั้งวาล์ว ไม่ได้วัดก่อนซ่อม,แต่เราอ้างอิงจากที่เคยวัดไว้ตอนระยะ37000กม.ตอนนั้นวัดได้ 157psi
3.ระยะห่างวาล์วเดิม in=0.10mm. ex=0.18mm.
ลงมือปรับตั้ง...
4.ปรับระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน จาก 1.0mm. เหลือ 0.7mm. (ตามมาตรฐาน)
5.ตั้งระยะห่างวาล์ว in=0.16mm. ex=0.25mm. (ตามมาตรฐาน)
6.วัดกำลังอัดหลังตั้งวาล์วแล้ว ได้ 165psi ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 175psi
สรุปผลหลังปรับตั้ง...
-สตาร์ทครั้งเดียวติด สตาร์ทติดง่ายเหมือนรถใหม่ แม้จะไม่ได้ใช้ไดเกียว ฮาาาาาา
-สังเกตได้ว่าเริ่มมีน้ำมันเครื่องติดตามเกลียวหัวเทียน น้ำมันเครื่องอาจจะดันขึ้นมาเข้าห้องเผาไหม้บางส่วน
-เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย คาดว่าเกิดจากระยะห่างวาล์วที่เพิ่มขึ้น
-ออกตัวจี๊ดขึ้นกว่าเดิม ช่วงเร่งแซงพุ่งกว่าเดิม แต่อัตราเร่งช่วง80-110(หน้าปัด) จะลดลงกว่าก่อนตั้งวาล์ว(วัดด้วยความรู้สึกล้วนๆนะ)
-top speed เท่าเดิม ตามสไตล์รถขูดชามแล้ว
-ครั้งนี้ไม่ได้รื้อคาร์บู เพราะการรื้อคาร์บู1ครั้งก็ใช้ความละเอียดไม่ต่างจากถอด-ประกอบเครื่องยนต์เลย
***เกร็ดความรู้****
1.click คาร์บู ใช้ระบบโช๊คไฟฟ้า วงจรโช๊คจะกั้นอากาศในวงจรความเร็วอัตโนมัติทุกครั้งที่เครื่องเย็น และจะปิดโช๊คทุกครั้งที่ขี้ผึ้งร้อน ทำให้ไม่ต้องใช้สายเคเบิ้ลดึงโช๊ค
2.click คาร์บู ใช้ก๊อกน้ำมันแบบสุญญากาศ น้ำมันจากถังจะไหลก็ต่อเมื่อเกิดแรงดูดขึ้นในท่อร่วมไอดี จึงไม่ใช้วาล์วเปิด-ปิดเหมือน dream รุ่นก่อนๆ
3.click คาร์บู มีท่ออากาศวงจรเดินเบา เป็นท่อยางเล็กๆข้างคาร์บู แยกออกจากท่ออากาศวงจรความเร็ว(ที่ต่อมาจากหม้อกรองอากาศ) ซึ่งไม่มีไส้กรองอากาศคอยดักฝุ่น ก่อนอากาศจะเข้าไปในวงจรเดินเบา...ควรระวังฝุ่นและน้ำเข้าคาร์บูทางท่อยางนี้
4.click คาร์บู ใช้คาร์บูแบบสุญญากาศ(ลิ้นเร่งแบบปีกผีเสื้อ ไม่ใช่ลูกชัก) จุดอ่อนอยู่ที่แผ่นไดอะเฟรมที่ยกเข็มน้ำมัน จะบางมาก ไม่เหมาะกับน้ำมันE20 / E85
"งานปรับแต่ง" รีวิว honda click 110 คาร์บู หลังขูดชามมาแล้ว
รีวิว honda click 110 คาร์บู หลังขูดชามมาแล้ว 2เดือน 2,000 กม.
-เปลี่ยนแค่ชามในใบเดียว ชามนอกยังใช้ใบเดิม
-เร่งลื่น พุ่งขึ้นตามความรู้สึกที่ลองขี่
-สำหรับ click110 คันนี้แปลก!! ตรงที่หลังขูดชามแล้วใช้เม็ดใหม่น้ำหนักเท่าเดิม กลับเร่งแล้วลื่น เร่งไวขึ้นกว่าตอนใช้ชามเดิมไม่ขูด...แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นเม็ดก็สึกแล้วนะ
👎👎ข้อเสีย!!! ของการขูดชามคือ ช่วงความเร็ว60-80 แค่ช่วงนี้ช่วงเดียวที่เราสังเกตได้ว่า รอบเครื่องจะลดลงกว่าตอนเร่งออกตัว 0-60 ซึ่งโดยปกติรอบเครื่องของระบบ cvt ที่สมบูรณ์ไม่ควรลดลงขณะเปิดคันเร่งสุด
ชามเดิมไม่ขูดร่อง+เม็ดเดิมติดรถ ใช้มา 30,000++ กม. |
👍👍ข้อดี ของการขูดชามเปิดร่องเม็ด คือ เราบิดคันเร่งเท่าเดิมแต่ได้ความเร็วยืนพื้นเพิ่มขึ้น จะเห็นผลชัดตอนที่ขี่คนเดียว
ใช้เครื่องมิลลิ่ง ขูดร่องเม็ด ฝั่งละ 1.5 มม. + ขัดผิวที่กลึงด้วยมิลลิ่งให้เรียบอีกครั้ง ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 320 |
👍👍ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง สำหรับสายเดินทางไกลอย่างเราคือ รถไต่ความเร็วในช่วง 80-100ได้ง่ายขึ้นกว่าเก่า แต่ๆๆclickคันนี้เวลาเร่งแซง ก็ยังต้องลุ้นนะ ฮาาาาา....คาดว่าเป็นผลจากการขูดครีบใบพัดรอบๆชาม ช่วยลดน้ำหนักชามลงก็เป็นได้
ชามแท้ เบิกศูนย์ เอามาขูดร่องเม็ด 1.5 มม.+เม็ดแท้เดิม15x6กรัม+ขูดครีบใบพัดรอบๆชามออก เพื่อลดน้ำหนัก |
⛽⛽⛽ กินน้ำมันกว่าเดิมมั้ย??
-เท่าที่วัดดูมันก็ซดน้ำมันไม่ต่างจากเดิมมาก คงเป็นเพราะข้อมือเราเอง ฮาาาา ค่าน้ำมันก็แทบไม่ต่างจากaerox155เลย ส่วนตัวเลยชอบใช้click110 มากกว่าaerox155 รถเล็ก คล่องตัว ขับสนุกมาก!!
✅ click110รุ่น play เท่าที่ใช้ (ไม่มีcombi-brake) ควบคุมเบรคขณะเข้าโค้งง่าย
✅ดูแลง่าย ไม่มีเสียงแฟริ่งดังกวนใจเหมือน wave110i
✅ความเร็ว ความแรง ไม่น้อยหน้า สูสีกับwave110iได้สบาย
✅หม้อน้ำไม่เคยมีปัญหา น้ำไม่ระเหยหายไปไหน ดูแลง่าย
❌แดรกน้ำมันเท่าๆaerox155 แต่มันก็ยังประหยัดกว่าตระกูลรถ2จังหวะ
❌เริ่มมีอาการสตาร์ทติดยาก กดปุ่มสตาร์ทค้างนานขึ้น เบื้องต้นคิดว่าจะวัดกำลังอัดก่อนแล้วค่อยประเมินดูว่า อาการนี้เป็นอาการวาล์วยัน วาล์วรั่วหรือเปล่า>>ซึ่งกรณีนี้อาจจะต้องตั้งวาล์ว หรือบดวาล์วด้วย
❌เคยลองใช้น้ำมัน E20 กับคันนี้แล้ว รถจะดับก่อนออกจากไฟแดง และตามยูเทิร์นเป็นประจำ ไม่ควรใช้
❌คาร์บูประเภทสูญญากาศ ให้ระวังยางลูกเร่งเสื่อม ขาดไว จากฤทธิ์ของethanol ที่กัดกร่อนลูกยางบางๆ
❌ภาวนาบ่อยๆว่าอย่าให้คาร์บูตัน เพราะการล้างคาร์บูลูกนึง ละเอียดอ่อนเหมือนกับการผ่าประกอบเครื่องยนต์เลยทีเดียว
🚀✈🚁ว่ากันด้วยเรื่อง top speed ก่อน-หลังทำชามบ้าง
-ชามเดิม เคยลองวิ่งจนกล่องตัด ได้110หน้าปัด(98gps)
-ชามใหม่ ขูดเปิดร่องเม็ด วันนี้เพิ่งวิ่งจนกล่องตัด ได้125หน้าปัด แต่ไม่ได้จับgps(คร่าวๆประมาณ112gps)
-ขากลับบ้านเลยลองจับgps ตอนนั้นจับความเร็วได้122หน้าปัด(109gps)ตามภาพ
✅✅✅top speed คือตัวเลขที่ชาวบ้านชอบถามถึง แต่มักมาให้เห็นไม่บ่อยนัก แต่ชอบเอามาคุยอวดกันสะเทือนนนนนนน
❌❌❌รถมันไม่ได้แรงอะไรหรอก Top speedที่ได้มา เพราะขี่หมอบ+ทางลาดลง+รถกระบะขับแหวกลมให้ข้างหน้า
✅✅✅ถ้าไม่หมอบ แต่บิดหมดปลอก นั่งขี่ชนลม ทางไม่ได้ลาดลง และไม่มีรถแหวกลม ก็ยืนพื้นที่100-105 ดีกว่าตอนใช้ชามเดิม 5-10km/h(หน้าปัด)
"งานปรับแต่ง" 👍แกะสูตร click125i แปลงเป็น 142.6 cc.👍
สรุป สูตรโมดิฟาย click 142.6 cc. แกะสูตรมาได้ดังนี้
2.ใช้ลูกสูบkaze 56มม. standard สลักบนขนาดเท่าเดิม13มม.ไม่ต้องแปลง, เอามาปรับแต่งชายกระโปรงลูกสูบให้ได้ความสูง 33มม., ควักหลุมบนลูกสูบคร่าวๆ ฝั่งไอดีลึก 4.2มม.(ลืมวัดความกว้างของหลุม) ฝั่งไอเสียลึก 3.6มม. ,ระยะห่างปากแหวนอัดตัวบน(สีขาว) 0.15มม. ,ระยะห่างปากแหวนอัดตัวล่าง(สีดำ) 0.20มม.
3.วัดซีซีหัวลูก ได้ 2.1-2.2 cc.
4.ควักเบ้าฝาสูบ ให้ได้ความจุ 11 cc.
ขยายพอร์ทไอดี |
5.ขยายพอร์ทไอดี(ขัดหยาบ) ปากทางเข้า26มม.+แต่งเป็นปากแตรให้เหลือ25มม. ตรงกลางพอร์ท22มม. บ่าวาล์ว24มม.
ขยายพอร์ทไอเสีย |
6.ขยายพอร์ทไอเสีย(ควรขัดผิวให้เรียบ) หลังบ่าวาล์วไอเสีย22มม. กลางพอร์ท20มม. ปากพอร์ทไอเสีย22มม.
7.ใช้ใบวาล์วไอดี 27มม.ขนาดแกน5มม.
8.ใช้ใบวาล์วไอเสีย 23มม.ขนาดแกน5มม.
9.ใช้สปริงวาล์วแต้มสีม่วง ไม่มั่นใจว่าเป็นของรุ่นไหน??
10.ถ้าใช้แคมเดิม+กระเดื่องวาล์วเดิม จะทำให้นิสัยรถเหมือนเดิม(อัตราเร่งของรถในแต่ละรอบเครื่องอยู่ในย่านเดิม) แนะนำให้ตั้งระยะห่างวาล์วตามค่ามาตรฐานได้เลย
คันนี้ตั้งไว้ ไอดี 0.10มม. ไอเสีย0.16มม.
11.สูตรนี้ คำนวณอัตราส่วนการอัดได้ 11.3-11.4:1
12.ลืมชั่งน้ำหนักลูกสูบ 5555 เพิ่งนึกออกตอนนี้**
13.ลิ้นเร่งคว้าน คันนี้ใช้ขนาด30มม.
- เดิมลิ้นเร่งติดรถ ขนาดแค่24มม. ลิ้นเร่งตัวนี้จะโตขึ้น6มม.
- เปรียบเทียบกับลิ้นเร่ง pcx150 จะมีขนาดอยู่ที่ 26 มม. ลิ้นเร่งตัวนี้จะโตกว่าลิ้นเร่งpcx150อยู่ 4 มม.
- เดิมลิ้นเร่งติดรถ ขนาดแค่24มม. ลิ้นเร่งตัวนี้จะโตขึ้น6มม.
- เปรียบเทียบกับลิ้นเร่ง pcx150 จะมีขนาดอยู่ที่ 26 มม. ลิ้นเร่งตัวนี้จะโตกว่าลิ้นเร่งpcx150อยู่ 4 มม.
ปล.แนะนำว่า ถ้าเน้นประหยัดน้ำมัน ให้ใช้แค่28มม.ก็พอ
14.หัวฉีด 6รูK ตรงรุ่นCBR150Rเบิกศูนย์
15.ใช้น้ำมันE20 เดินเบาเงียบ นิ่ง ไม่สะดุด เหมือนกับ pcx 150 เดิมๆ
16.ใช้คอท่อ+ท่อของ click150/pcx150 แปลงใส่ได้เลย
17.ให้เปลี่ยนใบพัดลมหม้อน้ำ เป็นของ pcx2012 เบิกศูนย์ สีดำ จะได้ครีบใบพัดแบบ turbine ใหญ่กว่า โดยไม่ต้องแปลงน็อตยึด
18.ลืมเรื่องปะเก็น...ให้ใช้ปะเก็นเดิมแบบอลูมิเนียมสีดำ คว้านให้เป็นขนาด56มม. แล้วใส่ตามปกติได้เลย
19.ขูดชาม ไล่เม็ด เพิ่มอัตราทด เพื่อเปลี่ยนอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นแลกเป็นความเร็วปลาย ไม่ก็เปลี่ยนเฟืองท้ายตามความถนัด
มาร์คที่เฟืองราวลิ้น ต้องตรงกับมาร์คจานไฟ |
มาร์คจานไฟ ตรงกับมาร์คที่เฟืองราวลิ้น |
สีของลูกสูบ หลังรันไปประมาณ 5 กม. |
...สเต็ปนี้ แรง ทน ใช้ได้ยาวๆเหมือนรถรุ่น150cc. ทั่วไป ทดลองนั่งขับ บิดประมาณครึ่งคันเร่ง ได้ความเร็วยืนพื้น 100gps ใช้คันเร่งเบามือเหมิอน aerox155 ต่างจากตอนที่ใช้ลูกสูบเดิม 52.4มม.มากๆ
ตอนนี้ยังเหลือ วัดแรงอัดลูกสูบ,ประเมินสีหัวเทียนหลังรันอิน,ทดสอบ top speed,หาค่าสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยเปรียบเทียบในคลาส150cc.
ติดตามตอนต่อไป...
ติดตามตอนต่อไป...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ตารางข้อมูลจำเพาะรถจักรยานยนต์Yamaha รุ่นปี2015-2016 จากศูนย์ไทยยามาฮ่าบางนา เพื่อเป็นประโยชน์ในการซ่อมบำรุง หรือใช้ปรับแต่ง ระยะห่างวาล...
-
2014 Yamaha R3 320 https://drive.google.com/open?id=10zM7oytg-nUHO2JwLYCexi3UxMonXS7C 2014 Yamaha Grand Filano 125 https://drive.google.com...
-
อาการก่อนซ่อม: สตาร์ทติดยาก ต้องบิดคันเร่งช่วยเบิ้ลเครื่องทุกครั้ง จากเดิมที่เคยกดสตาร์ทติด แบบไม่ต้องบิดคันเร่งช่วย ตรวจเช็คก่อ...