วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

++งานซ่อม++ วิชา “จูนคาร์บู” : กรณีศึกษา : เครื่องตัดหญ้า

วิชา “จูนคาร์บู”

- กรณีนี้ เป็นการจูนคาร์บูเรเตอร์แบบลูกชักของเครื่องตัดหญ้า ที่มีนมหนูแค่ตัวเดียว คือ นมหนูหลัก (ไม่มีนมหนูเดินเบา+ไม่มีสกรูขันปรับอากาศที่ต้องขัน 1 รอบครึ่งอะไรพวกนั้น) แต่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับคาร์บูเรเตอร์ของรถมอเตอร์ไซค์ ที่มีนมหนูเดินเบาเพิ่มมาอีกตัวนึง+มีสกรูขันปรับอากาศ1รอบครึ่งได้ด้วย


-กรณีนี้ เราจะไม่ปรับตำแหน่งล็อคของเข็มลูกเร่งก่อน!! 

...แต่เราจะแนะนำให้จูนคาร์บูด้วยการ...

* * ตั้งระดับน้ำมันในถ้วยลูกลอยก่อนเป็นลำดับแรก * *



-ตำแหน่งล็อคของเข็มลูกเร่ง จะสัมพันธ์กับระดับน้ำมันในถ้วยคาร์บู (หรือจะเรียกว่าห้องลูกลอยก็ได้)

-ตามมาตรฐาน ตำแหน่งล็อคของเข็มเร่ง จะถูกตั้งมาให้อยู่ในระดับที่ 3 หรือตรงกลาง (แนะนำให้เริ่มตั้งเข็มล็อคในตำแหน่งตรงกลางก่อนจูน)

-ถ้าเครื่องใช้งานได้ดีตามปกติ สตาร์ทติดง่าย หัวเทียนมีสีน้ำตาลอิฐ เร่งไม่สะดุด ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนล็อคของเข็มลูกเร่งใหม่


-แต่ในคาร์บูเก่าๆ ถ้าใช้งานไปนานๆ จะเจอเหตุการณ์น้ำมันล้นออกทางท่อระบาย...หมายถึง ระดับน้ำมันในถ้วยคาร์บูเพิ่มขึ้น...ยิ่งระดับน้ำมันในถ้วยคาร์บูสูงเท่าไหร่...ยิ่งทำให้ส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมัน (a/f ratio) หนาขึ้นตามไปด้วย...ผลเสียคือ เครื่องจะมีอาการสตาร์ทติดยาก, หัวเทียนมักจะมีรอยฉ่ำของน้ำมัน, น้ำมันจะล้นหกเลอะเทอะ, สิ้นเปลืองน้ำมัน


-วิธีแก้คือ เราจะต้องดัดขาลูกลอย โดยถอดถ้วยคาร์บูออกมาก่อน แล้วจึงง้างขาลูกลอยออกทั้งสองข้างให้เท่าๆกัน (ตรงนี้ต้องประณีตมากๆ) เพื่อให้ระดับน้ำมันในลูกลอยลดต่ำลง


-จากนั้นก็ทดลองวัดระดับน้ำมันในถ้วยคาร์บู โดยใช้มือประคองถ้วยคาร์บูไว้ (ไม่ต้องขันน็อตก่อน)


-วัดระดับน้ำมัน2-3ครั้ง จนแน่ใจว่าระดับน้ำมันลดลงแล้ว จึงขันน็อตประกอบคาร์บูให้เรียบร้อย


**ถ้วยคาร์บูบางรุ่น จะมีมาร์คบอกระดับน้ำมันที่ถูกต้องไว้ข้างถ้วยแล้ว


-จากนั้น ทดลองสตาร์ทเครื่อง เร่งเครื่องแล้วสังเกตอาการ

-ถ้าเปิดคันเร่งแล้ววอด หรือหัวเทียนมีคราบสีขาวจางๆ ให้ปรับล็อคเข็มเร่ง “ลง” ครั้งละ 1 ล็อค สตาร์ทอีกครั้งแล้วสังเกตอาการ

-ถ้าหัวเทียนมีเขม่าสีดำ ให้ปรับเข็มเร่ง “ขึ้น” ครั้งละ 1 ล็อค สตาร์ทอีกครั้งแล้วสังเกตอาการ

-ระหว่างที่จูนคาร์บู ให้ขันสกรูปรับตั้งรอบเดินเบาตามความเหมาะสม


-สรุปแล้วการปรับเข็มลูกเร่ง อาจไม่ได้มีเพื่อใช้ให้เครื่องแรงขึ้น หรือให้เครื่องประหยัดน้ำมัน แต่ในกรณีนี้ใช้สำหรับปรับจูนส่วนผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศ (Air : Fuel Ratio หรือ A/F Ratio) ให้เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์ ทุกย่านกำลังของเครื่องยนต์


- ทั้งหมดนี้รวบรวมจากประสบการณ์ส่วนตัว อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น